การแข่งขัน “พอร์ต มัจฉานุ คนเหล็กไทย ภูเก็ต” กำหนดการแข่งขันในวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2566 นี้
การแข่งขัน “พอร์ต มัจฉานุ คนเหล็กไทย ภูเก็ต” กำหนดการแข่งขันในวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2566 นี้
เมื่อวันที่ 17 เม.ย..66 เวลา17.00 น. ณ Port Macchanu Superyacht Marina งานแถลงข่าว การจัดแข่งขัน “พอร์ต มัจฉานุ คนเหล็กไทย ภูเก็ต” กำหนดการแข่งขันในวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2566 นี้ โดยมี นายจาตุรนต์ ภักดีวานิชย์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เป็นประธาน พร้อม นายวิจิตร สิทธินาวิน นายกสมาคมกีฬา ไตรกีฬาแห่งประเทศไทย และ รักษาการ นายกสมาพันธ์ไตรกีฬาเอเชีย, นายดิฐพงศ์ ฐิตะดิลก -นายฐากูร บุญมาก ผู้บริหารท่าเรือพอร์ตมัจฉานุ, นายชลัฏ รัชกิจประการ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีท่องเที่ยวและการกีฬา ร่วมแถลงข่าว และมีตัวแทนนักกีฬา ภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน เข้าร่วมงาน
สำหรับรายละเอียด จัดการแข่งขัน “พอร์ต มัจฉานุ คนเหล็กไทย ภูเก็ต” ซึ่งสามารถกดสมัครในราคา Super-Early ราคาพิเศษสำหรับสนาม #พอร์ต มัจฉานุ คนเหล็กไทย ภูเก็ต (Long-Distance L2) และกิจกรรมการแข่งขันอื่นๆอีกเพียบ! รวมทั้งสมัครบนระบบสมัคร Thai Run (ไทยรัน)
🎪 Race Date: 27-28 May 2023
📍 Race Venue: The PlayYard
⭐️ Organized by: Triathlon Thailand AGT
🏖 สถานที่จัดการแข่งขัน Port Macchanu Superyacht Marina
🏅 รับรองการแข่งขันโดย สมาคมกีฬา ไตรกีฬาแห่งประเทศไทย
🎖 จัดการแข่งขันโดย คณะกรรมการ Triathlon Thailand Age-Group Commission (AGT)
นายจาตุรนต์ ภักดีวานิชย์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ถล่าวถึง การท่องเที่ยวทางน้ำอยู่ในแผนปฎิรูปประเทศ ในเรื่องของการท่องเที่ยวคือหนึ่งในเรื่องสำคัญและ การท่องเที่ยวทางน้ำทางรัฐบาลคาดหวังว่าจะเป็นรายได้ใหม่ให้กับประเทศ และอุตสาหกรรมเรือยอร์ชทั่วโลกมีการเตอบโตมาก ประเทศไทยมีอุณหภูมิที่เหมาะสมจึงอยากให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ทางภาครัฐจึงมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ ซึ่งทางภาคเอกชนให้ความสนใจ อยากจะทำท่าเรือจอดซุปเปอร์ยอร์ชแห่งแรกในภูมิภาคและจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศไทย
นอกจากนี้ กรมการท่องเที่ยวยังได้หารือกับทางผู้บริหารท่าเรือพอร์ตมัจฉานุเรียบร้อยแล้ว ว่าเราจะพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างไร โดยกรมการท่องเที่ยวมีบทบาทที่จะพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวก็จะมาร่วมกันพัฒนาบุคลากรตั้งแต่ คนประจำเรือ ช่างซ่อม คนบริการบนเรือ และคนที่เกี่ยวข้อง พร้อมหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ควบคู่กับท่าเรือพอร์ตมัจฉานุ และน่าจะขับเคลื่อนประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก และยังเป็นแหล่งรายได้ใหม่ตามที่คาดหวังไว้
ในส่วน ของท่าเรือพอร์ตมัจฉานุ คาดว่าจะรองรับได้ไม่ต่ำกว่า 50 ลำ ซึ่งในส่วนของภูเก็ต เราจะทำในลักษณะท่าเรือต่อซุปเปอร์ยอร์ช ส่วนการส่งเสริมในภาคอื่นทางการท่องเที่ยวจะต้องดูภาพรวมอยู่แล้ว อาทิการพัฒนาบุคลากรเป็นหลัก ซึ่งในประเทศไทยมีการจ้างงาน 39 กว่าล้านคน อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประมาณ 11 กว่าเปอร์เซนต์ หรือ ประมาณ 9 ล้านคน เพราะฉะนั้นเราจะพัฒนาไปทั้งหมด 13 สาขาอาชีพ รวมไปถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเรือสำราญทางน้ำ ที่จะเป็นอุตสาหกรรมการสร้างรายได้หลักให้กับประเทศไทยต่อไป
ส่วนทางด้าน นายดิฐพงศ์ ฐิตะดิลก - นายฐากูร บุญมาก ผู้บริหารท่าเรือพอร์ตมัจฉานุ เป็นผู้สนับสนุนสถานที่จัดงาน ได้กล่าวถึง จังหวัดภูเก็ต มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะและเหมาะในการพัฒนาเศษฐกิจและการท่องเที่ยว ต่อไปในอนาคตอันใกล้ การเดินทางจากทวีปโลกฝั่งตะวันตก ไปสู่ทวีปโลกฝั่งตะวันออก จะไม่ได้มีแค่การเดินทางทางอากาศอีกต่อไป เรือยอร์ชจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนในสังคมระดับหนึ่งจะเลือกใช้ในการเดินทาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟูเศษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประเทศ เพราะว่าสถานที่ตั้งของจังหวัดภูเก็ต เหมาะสมอย่างยิ่ง ที่จะเป็นจุดพัก หลังจากการเดินทางไกล ทั้งจากทวีปยุโรป เอมริกา และทางฝั่งออสเตรเลีย
เมื่อพูดถึงจังหวัดภูเก็ต สิ่งแรกที่นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องคิดถึงก็ คือ ทะเลใส หาดทรายสวยและ อยากจะลองสัมผัสการเดินทางท่องเที่ยวโดยเรือ ท่องเที่ยวทางทะเลรอบเกาะภูเก็ต ซึ่งเรือมีหลายชนิดให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้บริการ แต่มีนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม ที่มีลักษณะการท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนใคร ต้องการความเป็นส่วนตัว จึงเลือกใช้บริการ เรือยอร์ชและซุปเปอร์ยอร์ช ความแตกต่างระหว่างเรือยอร์ชและซุปเปอร์ยอร์ช ก็คือขนาดของเรือ อยู่ที่ 30 เมตรขึ้นไป ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ยังไม่มีประเทศไหน มีท่าจอดเรือเฉพาะสำหรับซูปเปอร์ยอร์ช
ดังนั้น Port Macchanu จึงมีแนวคิดโครงการก่อสร้าง ท่าจอดเรือซุปเปอร์ยอร์ชแห่งแรกในประเทศไทยในชื่อ พอร์ต มัจฉานุ ด้วยศักยภาพ และจุดเด่นของสถานที่ตั้ง ที่ดินแปลงนี้อยู่ทางตอนเหนือของเกาะ มีร่องน้ำที่มีความลึกที่เหมาะสม มีภูเขาและพื้นที่ชายฝั่งขนานกันทั้งสองฝั่งทะเลจนทำให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่ในแม่น้ำส่วนตัว ทำให้มีความปลอดภัยจากคลื่นลมและพายุ เพราะฉนั้น จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะทำเป็นพื้นที่จอดเรือ และจุดเด่นอีกอย่างของสถานที่นี้คือ ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินผื่นใหญ่ที่สุดในจังหวัดภูเก็ต มีขนาดพื้นที่ ที่กว่า 1,900 ไร่ มีพื้นที่ติดทะเลยาวกว่า 2 กิโลเมตร ด้วยพื้นที่ ที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจทางทะเล ทำให้มีการทำธุรกิจอู่ซ่อมเรือมาเป็นเวลากว่าสิบปี มีความรู้ ความเข้าใจ ในความต้องการของอุสาหกรรมเรือยอร์ช และเรือซุปเปอร์ยอร์ชเป็นอย่างดี จึงได้มาร่วมกัน ทำให้เกิดแนวคิดโครงการ Port Macchanu ด้วยแนวคิดที่ว่า “ถ้ามีเรือก็ต้องมีที่จอดเรือ ต้องมีที่ซ่อมเรือ ต้องหาสถานที่ ที่ปลอดภัย เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก”
ด้วยความชำนาญและเชี่ยวชาญของ พอร์ต มัจฉานุ ที่เราจะไม่ใช่แค่ท่าจอดเรือ เพียงอย่างเดียว แต่เราจะทำให้พอร์ตมัจฉานุ เป็นเสมือนเมืองย่อมๆที่ตอบโจทย์ ความต้องการของเจ้าของเรือซุปเปอร์ยอร์ชและเจ้าหน้าที่ประจำเรือ ด้วยเงินลงทุน มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้โครงการดัวกล่าว สามารถเพิ่มอัตราการจ้างงานให้กับประชาชนท้องถิ่นอีกด้วย
นอกจากนี้ พอร์ตมัจฉานุ ท่าเทียบเรือซุปเปอร์ยอร์ชแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเราจะเป็นได้มากกว่าท่าเที่ยบเรือทั่วไป และจะทำให้ประเทศไทยเรามีสีสัน ในอุสาหกรรมเรือยอร์ชได้มากขึ้น อีกทั้งเป็นการกระตุ้นเศษฐกิจ และยกระดับคุณภาพของการบริการของการท่องเที่ยวในประเทศไทยสู่ระดับสากล
เพราะ เราคือสถานที่ ที่พร้อมจะต้อนรับผู้ที่มาเยี่ยมเยือนในทุกสายอาชีพของการท่องเที่ยวในระดับพรีเมียม