“สมกิตติ์” แขวงทางหลวงภูเก็ต ไฟแรงรับตำแหน่งแค่ 2สัปดาห์ พร้อมลุยและเปิดข้อมูลความคืบหน้า 5 โครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง จังหวัดภูเก็ต
“สมกิตติ์” แขวงทางหลวงภูเก็ต ไฟแรงรับตำแหน่งแค่ 2สัปดาห์ พร้อมลุยและเปิดข้อมูลความคืบหน้า 5 โครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง จังหวัดภูเก็ต
ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต ได้แถลงความคืบหน้าโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งของกรมทางหลวง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 5 โครงการ เพื่อรองรับการเดินทางเข้าสู่จังหวัดภูเก็ตลดปัญหาการจราจรติดขัด อำนวยความสะดวกปลอดภัย ในการเดินทางสู่เมืองภูเก็ต เชื่อมต่อระบบขนส่ง และสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 10.00 น.ในการแถลงข่าวผู้ว่าราชการจังหวัดพบสื่อมวลชน ครั้งที่ 9/2567 ณ ห้องประชุมมุกอันดา มุขหน้า ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต โดยมี นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานฯ โดยมี นายสมกิตติ์ กิตติโศภิษฐ์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต ได้เข้าร่วมแถลงความคืบหน้าโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง จังหวัดภูเก็ต ในส่วนของกรมทางหลวง มีทั้งหมด จำนวน 5 โครงการ ดังนี้.
1. โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับที่จุดตัด ทล. 402 กับ ทล .4027 และทล. 4025 (ทางลอดท่าเรือ) (ได้รับงบประมาณปี 2567) ค่าก่อสร้าง2,380 ล้านบาท โดยทางแยกท่าเรือ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 402 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4027 ซึ่งทล.402 เป็นทางสายหลักในการคมนาคมของจังหวัดภูเก็ตเพื่อใช้เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่สำคัญและแหล่งท่องเกี่ยวต่างๆ ที่บริเวณ กม.34+680 ทางแยกนี้ปริมาณการจราจรสูง จัดการจราจรด้วยวงเวียน มีปริมาณของยานพาหนะจำนวนมาก เนื่องจากประสิทธิภาพของแยกไม่เหมาะสมกับปริมาณจราจร จึงก่อให้เกิดความล่าช้าติดขัดบริเวณทางแยก จึงจำเป็นต้องก่อสร้างทางลอดข้ามทางแยก เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และความล่าช้าในการเดินทางผ่านทางแยก เพื่อลดอุบัติเหตุและเพิ่มความคล่องตัว (Mobility)ในการเดินทางและการขนส่ง โดยยังคงทัศนียภาพที่ดีเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว สถานะปัจจุบันด้านการออกแบบและจัดทำรายงาน EIAออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จเมื่อปี 2565/คชก. พิจารณารายงาน ElA ครั้งที่ 1 เมื่อ 11ส.ค. 2566 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2566
ปัจจุบันได้รับความเห็นชอบจาก คชก. แล้ว อยู่ระหว่างรายงานเสนอต่อ กก.วล. (คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ) ด้านการเตรียมพื้นที่สาธารณูปโภค : อยู่ระหว่างประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการความร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค กรมศิลปากร สถานีตำรวจภูธรเมืองภูเก็ต และหน่วยงานราชการในจังหวัดภูเก็ต กรรมสิทธิ์ : ประชุมหลักการที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง/ต้นไม้ และเห็นชอบในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567คาดว่าจะดำเนินการจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคม2567 และสำนักงบประมาณ จะมีหนังสือตอบกลับมายังกรมทางหลวง เรื่องขออนุมัติวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม [ไม่เกินร้อยละ5] แล้วลงวันที่ 27มิ.ย.67 เห็นชอบในวงเงิน 2,380 ล้านบาท และขยายระยะวลาก่อนหน้านี้เป็นงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2567-2570
2.โครงการก่อสร้างขยายช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 4027 ช่วง บ.พารา- บ.เมืองใหม่ (ได้รับงบประมาณปี 2567) ค่าก่อสร้าง650 ล้านบาท ระยะทาง 4.55 กิโลเมตร กล.4027 เป็นโครงข่ายทางหลวงเพื่อเป็นทางเลือกการเดินทางพื้นที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันช่วงแยกท่าเรือ- บ.พารา (กม.0+000- กม.14+300) ได้รับการขยายเป็นทางขนาด 4 ช่องจราจรแล้ว การพัฒนาเส้นทางให้เป็นทางขนาด 4 ช่องจราจร จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แบ่งเบาปริมาณจราจรบน กล.402 ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทางพัฒนาพื้นที่ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว สถานะปัจจุบันด้านการออกแบบและจัดทำรายงาน EIA ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จเมื่อปี 2563 รายงาน EIA ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลในพื้นที่คุ้มครองจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2564 ด้านการเตรียมพื้นที่สาธารณูปโภค : อยู่ระหว่างประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรรมสิทธิ์ : อยู่ระหว่างดำเนินการประชุมหลักการที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง/ต้นไม้ หลังจากเห็นชอบในหลักการแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเริ่มสำรวจทรัพย์สิน e-bidding วันที่ 14 มิ.ย.67 ปัจจุบันดำเนินการหาตัวผู้รับจ้างแล้วเสร็จอยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญา คาดว่าจะลงนามได้ช่วงต้นเดือนกันยายน 67
3.โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ช่วง บ.เมืองใหม่ – สามแยกเข้าสนามบินภูเก็ต ค่าก่อสร้าง 1,300 ล้านบาท ระยะทาง 1.95 กม. กล.4027 เป็นทางเลือกในการเดินทางเข้าสู่พื้นที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันแนวเส้นทางบริเวณจุดเชื่อมต่อ ทล.402 บ.เมืองใหม่ เป็นย่านชุมชนมีเขตทางไม่เพียงพอต่อการพัฒนาการเชื่อมต่อของโครงข่ายขาดความสมบูรณ์ การพัฒนาเส้นทางแนวใหม่ พร้อมก่อสร้างทางแยกต่างระดับ (แยกสนามบิน) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แบ่งเบาปริมาณจราจรบน กล.402 ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็วและความปลอดภัย ในการเดินทางพัฒนาพื้นที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว สถานะปัจจุบัน ด้านการออกแบบและจัดทำรายงาน EIA ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จเมื่อปี 2563 รายงาน EIA ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลในพื้นที่คุ้มครองจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2564 ด้านการเตรียมพื้นที่ กรรมสิทธิ์ : คค.มีหนังสือเสนอ (ร่าง) พรฎ. และเอกสารประกอบต่อ สลค. แล้ว (ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2567) ,ป่าชายเลน : คค.มีหนังสือเสนอเรื่องขอผ่อนผันมติ ครม. เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนต่อ สลค.แล้ว (ลงวันที่ 4 เมษายน 2567) สาธารณูปโภค : อยู่ระหว่างประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับงบก่อสร้างปี 2568 ปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณ
4.โครงการศึกษาและสำรวจออกแบบ เพื่อก่อสร้างสะพานสารสินแห่งใหม่ ค่าออกแบบกรอบรายละเอียด 80 ล้านบาท ดำเนินการศึกษาสำรวจและออกแบบเพื่อก่อสร้างสะพานสารสินแห่งใหม่ โครงการเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่าย MR9ช่วงที่ 2 พังงา – ภูเก็ต โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา และสิ้นสุดที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงหมายเลข 4 กับ โครงการทางพิเศษ สายเมืองใหม่- เกาะแก้ว-กะทู้ เพื่อรองรับการเดินทางเข้าสู่จังหวัดภูเก็ต ลดปัญหาการจราจรติดขัด อำนวยความสะดวกปลอดภัย ในการเดินทางสู่เมืองภูเก็ต เชื่อมต่อระบบขนส่งและสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ และสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ให้เดินทางผ่านร่องน้ำปากพระไปยังพื้นที่ท่าเรือของจังหวัดภูเก็ตได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
5. การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแนวใหม่สาย บ.ป่าคลอก – บ.บางคู จ.ภูเก็ต ได้รับงบประมาณศึกษาปี 2567 วงเงิน 20 ล้านบาท เพื่อวางแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแนวใหม่สาย บ.ป่าคลอก – บ.บางคู จ.ภูเก็ต ลดระยะทางและเวลาในการเดินทาง ซึ่งในปัจจุบันจะต้องใช้ทางหลวงหมายเลข 402 ที่มีปริมาณจราจรหนาแน่น โดยเฉพาะช่วงจากแยกท่าเรือถึงแยกบางคู เพียงเส้นทางเดียว การก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางจาก 4027 สู่อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต โดยไม่จำเป็นต้องผ่านแยกท่าเรือ แยกเกาะแก้ว และแยกบางคู รวมถึงเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ให้มีลักษณะเป็นโครงข่ายถนนเลี่ยงเมืองที่สมบูรณ์ รองรับการคมนาคมขนส่งจากพื้นที่ทางตอนเหนือเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ตได้อีกเส้นทางหนึ่ง สถานะปัจจุบัน ได้รับงบประมาณศึกษาปี 2567วงเงิน 20 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2567 ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษา (แนวเส้นทางมีการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
นายสมกิตติ์ กิตติโศภิษฐ์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต ได้กล่าวถึง ในการดำเนินทุกโครงการต้องขอความร่วมมือสื่อมวลชนร่วมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อร่วมพัฒนาจังหวัดภูเก็ตร่วมกัน ทั้งนี้ทุกโครงการมุ่งหวังแก้ปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตเป็นสำคัญ เพื่อรองรับการเดินทางเข้าสู่จังหวัดภูเก็ตลดปัญหาการจราจรติดขัด อำนวยความสะดวกปลอดภัย ในการเดินทางสู่เมืองภูเก็ต เชื่อมต่อระบบขนส่ง และสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่
ส่วนการปฐมนิเทศโครงการฯ สายป่าคลอกบางคู การศึกษาสายป่าคลอกบางคู ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการเดินศึกษากำหนดความเหมาะสมของโครงการ รูปแบบของโครงการ รวมถึงผลกระทบต่างๆจากที่ผ่านมา เป็นการปฐมนิเทศโครงการ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมพาโก้ ซึ่งได้รับความร่วมมือ จากประชาชนเป็นจำนวนมาก ประชาชนได้นำเสนอความคิดเห็น มีขั้นตอนต่างๆการนำเสนอแนวคิด ซึ่งในเบื้องต้นทางที่ปรึกษา ก็ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ ซึ่งในคราวต่อๆไปก็จะมีการดำเนินการ กำหนดรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น แนวทางการสร้างทางเลือกให้กับประชาชนได้แสดงความคิดเห็นกัน ในวันนั้นก็ได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี และในอนาคตหลังจากนี้การศึกษาก็จะดำเนินการตามที่ประชุมในครั้งต่อไป ซึ่งข้อมูลในตอนนี้มีการเสนอหลายรูปแบบ ก็จะมีจุดหวั่นไหวในหลายๆจุดที่ประชาชนได้เสนอมา
ส่วนจุดที่มีความหวั่นไหว เช่น บริเวณแยกเกาะแก้ว ซึ่งตรงนี้ทางที่ปรึกษาก็จะมีการนำเสนอรูปแบบต่าง ๆและได้รับไว้ไปศึกษาและพิจารณารวมถึงสิ่งสำคัญต่างๆ เพื่อที่จะนำเสนอในครั้งต่อๆไป ศึกษาแนวเส้นทางสร้างทางเลือกแนวเส้นทาง และจะนำข้อเสนอแนะในวันนั้น มาดำเนินการเพื่อนำเสนอในที่ประชุมร่วมในการดำเนินการมีส่วนร่วมกับประชาชนต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ นายสมกิตติ์ ยังได้กล่าวต่ออีกว่า จากการสำรวจแนวทางประชาชนต้องการแนวเส้นทาง ที่ต้องการลดปัญหาจราจร คือ ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันถนนหมายเลข 402 ประชาชนได้รับผลกระทบในเรื่องของการจราจรที่ติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน จะติดขัดอย่างมากและแนวเส้นทางใหม่ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะให้ประชาชนสามารถใช้เส้นทางแก้ปัญหา และที่สำคัญบริเวณแยกเกาะแก้วบริเวณวงเวียนท่าเรือตรงนี้ ก็จะต้องไปศึกษาตรงนี้ ในลักษณะของ 4 ช่องจราจร หรือ 2 ช่องจราจร ก็แล้วแต่ความเหมาะสมจะต้องนำมาพิจารณาในองค์ประกอบหลายหลายด้าน หรืออาจจะขยายเป็น 4ช่องจราจร ว่าความคุ้มค่าของการก่อสร้าง ในตรงนี้ก็มีการแนะแนวเส้นทางยังไงก็แล้วแต่จะนำข้อคิดเห็นในวันที่ประชุมวันนั้นมาพิจารณาใหม่ เพื่อสร้างทางเลือกให้กับประชาชนในเร็วๆนี้
ส่วน เส้นทางสายป่าคลอก-บ.บางคู จากการศึกษาได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการเดินศึกษา กำหนดความเหมาะสมของโครงการ รูปแบบของโครงการ รวมถึงผลกระทบต่างๆ จากที่ผ่านมา เป็นการปฐมนิเทศโครงการเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความร่วมมือ จากประชาชนเป็นจำนวนมาก ประชาชนได้นำเสนอความคิดเห็น มีขั้นตอนต่างๆ การนำเสนอแนวคิดซึ่งในเบื้องต้น จากที่ปรึกษาก็ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ ซึ่งในคราวต่อๆไป ก็จะมีการดำเนินการ กำหนดรูปแบบต่างๆ อาทิ แนวทางการสร้างทางเลือกให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น และในวันนั้นก็ได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี และในอนาคตหลังจากนี้ การศึกษาก็จะดำเนินการตามที่ประชุมในวันนั้นต่อไป มีการนำเสนอหลายรูปแบบ ก็จะมีหวั่นไหวในหลายจุดที่ประชาชนได้เสนอมา จุดที่มีความหวั่นไหว คือ บริเวณแยกเกาะแก้วทางที่ปรึกษาก็จะมีการนำเสนอรูปแบบต่างๆและได้รับไว้ไปศึกษาและพิจารณา สิ่งสำคัญเพื่อที่จะนำเสนอในครั้งต่อๆไปหลังจากนี้ จะศึกษาแนวเส้นทาง สร้างทางเลือก แนวเส้นทาง และจะนำข้อเสนอแนะในวันนั้นมาดำเนินการเพื่อนำเสนอในที่ประชุมร่วมในการดำเนินการที่มีส่วนร่วมกับประชาชนต่อไปในอนาคต นายสมกิตติ์ ได้กล่าวสรุปทิ้งท้าย