การประชุมรับฟิงความคิดเห็นกลุ่มย่อย กลุ่มที่ 1 “กลุ่มโครงสร้างฐานพื้น และการพัฒนาเศรษฐกิจ”การวางและจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัด จังหวัดกูเก็ด
การประชุมรับฟิงความคิดเห็นกลุ่มย่อย กลุ่มที่ 1
“กลุ่มโครงสร้างฐานพื้น และการพัฒนาเศรษฐกิจ”การวางและจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัด จังหวัดกูเก็ด
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องรายา โรงแรมรอยัล ภูเก็ตซิตี้ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยมี นายกุลพัฒน์ ฤกษ์จำนง นักวิเคราะห์ผังเมืองชำนาญการพิเศษ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวเปิด การประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มที่ 1 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจโครงการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางและจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัด จังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นางสาวขวัญศิริ วรรณชนะ นักผังเมืองชำนาญการพิเศษ สำนักผังประเทศและผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง, นางสาวปรางศิริ สุกใส นักผังเมืองชำนาญการ สำนักผังประเทศและผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง, นางสาวกรกันยา โกมลเมนะ รักษาการวิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักวิศวกรรมการผังเมือง และ นายณัฐพล พรสัตยวงศ์ วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักวิศวกรรมการผังเมือง โดยผู้แทนสำนักผังประเทศและผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง ในการวางและจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัดรายสาขาเป้าหมายแนวทางการพัฒนาจังหวัดในแต่ละสาขา ประชุมร่วมกับ ผู้แทนหน่วยงาน องค์กรกลุ่ม ภาคส่วนราชการ และหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กลุ่มที่ 1 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจการวางและจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัด จังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์ของการประชุมกลุ่มย่อย (กลุ่มที่ 1) “กลุ่มโครงสร้างฟื้นฐาน และการพัฒนาเศรษฐกิจ” 2 หัวข้อหลักๆ คือ
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของผังนโยบายระดับจังหวัดรายสาขา ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและ
การพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งถิ่นฐานและระบบชุมชนการพัฒนาเมือง โครงการการคมนาคมและการขนส่ง
ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เพื่อประกอบการจัดทำ (ร่าง)
-แผนผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
-แผนผังแสดงระบบสาธารณูปโภค
-แผนผังแสดงเขตส่งเสริมการพัฒนาเมือง
-แผนผังแสดงการตั้งถิ่นฐานและระบบชุมชน
-แผนผังแสดงเขตส่งเสริมการพัฒนาเมือง
-แผนผังแสดงโครงการการคมนาคมและการขนส่ง โดยแสดงการการเชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่ง
-แผนผังแสดงระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และบริการสาธารณะตามโครงสร้างพื้นฐาน
-แผนผังแสดงเขตการพัฒนาอุตสาหกรรม
-แผนผังพื้นที่พัฒนาพิเศษ
2. เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมาย
การพัฒนาจังหวัดในแต่ละรายสาขา รวมถึงนโยบายและมาตรการต่างๆ กับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดเป้าหมาย แนวทางการพัฒนาในแต่ละรายสาขา เพื่อให้การปฏิบัติงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
นอกจากนี้ การประชุมรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย กลุ่มที่1 “กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาเศรษฐกิจ” ทางด้านการวางและจัดทำผังนโยบายระดับจังหวัด จังหวัดภูเก็ต ได้กำหนดทิศทาง เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา ดังนี้.
ทางด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งมีหัวข้อย่อย อาทิ แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอยต่อเมืองกับบริเวณพัฒนาอุตสาหกรรม และ มาตรการป้องกัน แนวทางควบคุมที่ควรคำนึงถึง มีอะไรบ้าง
ทางด้านการตั้งถิ่นฐานและระบบชุมชน อาทิ แนวทางการบริหารจัดการน้ำดิบ น้ำจืด ให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนและนักท่องเที่ยว
ทางด้านเขตส่งเสริมการพัฒนาเมือง อาทิ เป้าหมายการพัฒนาเมืองอยู่ลำดับสูงกว่า เท่ากัน หรือต่ำกว่า การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, แนวทางการแก้ไขปัญหาคราบน้ำมันบริเวณท่าเรือ และ แนวทางการพัฒนาเมืองควบคู่กับรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี#phuketprice
ทางด้านโครงการการคมนาคมและการขนส่ง อาทิ แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบๆสถานี จุดเชื่อมต่อการเดินทาง, รูปแบบการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อกระจายนักท่องเที่ยวลงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว, รูปแบบการเดินทางที่เหมาะสมสำหรับประชากรในพื้นที่ และ รูปแบบการเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับสังคมผู้สูงวัย
ทางด้านระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะตามโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ระบบบริหารจัดการโรงกำจัดขยะ โรงบำบัดน้ำเสีย ให้อยู่ร่วมกับพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างเป็นมิตร รวมถึง แนวทางและมาตรการคือทำอย่างไร
ทางด้านเขตการพัฒนาอุตสาหกรรม อาทิ ภูเก็ตถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งภาคใต้ตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboiru)., ข้อมูลนโยบายด้านอุตสาหกรรมของจังหวัดภูเก็ต อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ส่งเสริมหรือสนับสนุน, พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองของจังหวัดภูเก็ต, พื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมของจังหวัดภูเก็ต (ถ้ามี) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรอาหารและแปรรูปเนื้อสัตว์ แร่ พลังงานทดแทน อู่ต่อเรือ ซ่อมเรือ มารีน่า ประมงน้ำลึก ดิจิทัล พื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยให้กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ส่งเสริมหรือสนับสนุน, โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มีหรือไม่ /เขตนิคมอุดสาหกรรม (ไม่มี) เขตประกอบการอุตสาหกรรมของจังหวัดภูเก็ต (ไม่มี) ในอนาคต, กำหนดพื้นที่อุตสาหกรรม ตามศักยภาพที่หมาะสมของพื้นที่ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญหรือเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของจังหวัด (กำหนดโซนหรือเขตส่งเสริม) ได้แก่ กำหนดพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมประเภทการซ่อม การต่อเรือและที่จอคเรือยอร์ช (Yacht) โดยกลุ่มพื้นการพัฒนาอุตสาหกรรม (มารีน่า) บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของพื้นที่ อำเภอภูเก็ต และอำเภอถลาง ได้แก่ บริเวณอ่าวปอ (อ่าวปอแกรนด์มารีน่า) บริเวณเกาะแก้ว (โบ๊ทลากูนมารีน่า) บริเวณกะสิเหร่ และบริเวณอ่าวมะขาม, กำหนดพื้นที่เป้าหมายการพัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมประมงน้ำลึก การแปรรูปเนี้อสัตว์ปลาทูน่า โรงงานแปรรูปปลาทูน่าเพื่อการส่งออก(ศูนย์กลางในการส่งออกปลาทูน่า), กำหนดพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล และนวัตกรรม, #phuketprice พัฒนาอุตสาหกรรมที่มุ่งเนันด้านการสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวคล้ยม, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม การค้าการลงทุนในพื้นที่ เช่น ทางบก (ถนน รถไฟ) ทางน้ำ (ท่าเรือมารีน่า ท่าเรือน้ำลึก ท่าเรือขนส่ง) ทางอากาศ (สนามบิน) และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ท่าเทียบเรือ คลังสินค้า รวมถึงการเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่นๆ อย่างเป็นระบบ
ทางด้านพื้นที่พัฒนาพิเศษ (การใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบชุมชน การพัฒนาเมือง คมนาคมขนส่ง) อาทิ 1. พื้นที่พัฒนาตามนโยบายรัฐพื้นที่ใดที่มีศักยภาพหรือควรกำหนดเป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษ ควรพัฒนาในทิศทางใด ด้วยเหตุผลใด เช่น พื้นที่นำร่องโครงการภูเก็ตสมาร์ทชิตี้ (Phuket Smart Crty) 2. พื้นที่เสนอแนะในการจัดทำผังพื้นที่เฉพาะ หรือผังเมืองเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสำคัญของเมือง มีหรือไม่ อาทิ พื้นที่พัฒนาเขตเมืองเก่า (Old Town), พื้นที่พัฒนาเขตวัฒนธรรม ชุมชนบ้านเคียน, พื้นที่พัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำ (แหล่งน้ำดิบ) (น้ำเสีย), พื้นที่พัฒนาดูแลแหล่งทรัพยากรทางทะเลและขายฝั่งที่สำคัญ, พื้นที่ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินริมชายฝั่งทะเล /การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล 3. พื้นที่เสนอแนะในการรองรับการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต อาทิเช่น พื้นที่จัดงาน Specialised Expo 2028 โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก 4. แผนงาน/โดรงการ ที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัด ได้แก่ โครงการท่าเรือสำราญและก็ฬาอ่าวมะขาม, โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณเขตเศรษฐกิจใหม่, โครงการศูนย์ประชุมและศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมสร้างสรรค์เมืองภูเก็ต,โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกฎเก็ต และ โครงการอื่นๆ
ทั้งนี้ ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวต่างได้เสนอแนะข้อมูลและปัญหาต่างๆ รวมถึงยังได้สะท้อนความคิดเห็น และอยากให้ลงไปสอบถามความเห็นจากคนในพื้นที่โดยตรง ซึ่งการสำรวจข้อมูลโดยตรงในแต่ละพื้นที่ กับทางท้องถิ่นนั้นๆจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นจะเข้าใจถึงปัญหาและภาพรวมของพื้นที่ได้ดีกว่า รวมถึงยังสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นและขอให้ปรับปรุงแก้ไขปรับเปลี่ยนแผนผังสีให้เหมาะสม หรือไม่ก็ปรับเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเมือง รวมถึงการได้รับฟังแนวความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และการตอบข้อซักถามต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ต่อไปอีกด้วย
เพิ่มติม ข้อมูลและรายละเอียด สามารถดูที่ลิงก์นี้ https://drive.google.com/file/d/1jtp3N6Q-goUTAM_MEvQFG0IqzFuFL6fQ/view
#ผังเมืองจังหวัดภูเก็ต
#phuketprice
#PPMThailand