ศาลเยาวชนฯ ภูเก็ต จัดฟื้นฟูแก้ปัญหาเด็ก

           หัวหน้าศาลฯ แจงสาเหตุที่ต้องจัดโครงการ “เพิ่มศักยภาพเครือข่ายชุมชนในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน”ว่าเยาวชนก่อคดีขึ้นสู่ศาลในปัจจุบัน เพราะขาดความยั้งคิด ส่วนใหญ่เกิดจาก ปัญหาสังคม ครอบครัวแตกแยก ขาดการเอาใจใส่ และเลียนแบบจากสื่อโลกออนไลน์ มีตัวแทนเครือข่ายในพื้นที่อำเภอเมืองเข้าร่วม 48 คน

           เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต นายสุประวัติ ฤทธิ์ชู ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “เพิ่มศักยภาพเครือข่ายชุมชนในการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชน” พร้อมด้วย นายวงศ์นันท์ วิวัฒน์วานิช ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลเยาวชนโดยมี ผู้พิพากษาสมทบ และตัวแทนเครือข่ายชุมชนทุกตำบลในอำเภอเมืองภูเก็ต จำนวน 48 คน เข้าร่วม

           นายสุประวัติ ฤทธิ์ชู ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่า “โครงการเพิ่มศักยภาพเครือข่ายชุมชนในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน” ในวันนี้ เนื่องด้วยในปัจจุบัน ปัญหาอาชญากรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนมีจำนวนมากและทวีความรุนแรงเพิ่มยิ่งขึ้น จากสภาพสังคมเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอย่างรวดเร็วส่งผลให้การดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนเปลี่ยนแปลง และด้วยความที่เป็นเด็กจึงยังไม่มีวุฒิ ภาวะ เพียงพอที่จะยั้งคิดหรือไตร่ตรองถึงความถูกหรือผิด จึงเกิดการกระทำ ผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาทิ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย อาวุธปืน เป็นต้น ถึงแม้ว่าเด็กและเยาวชนนั้น เป็นผู้กระทำความผิดหรือตกเป็นผู้เสียหาย ล้วนแล้วแต่เป็นภาพสะท้อนถึงกลไก ของสังคมที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จากสถิติคดีอาญาที่เด็กและเยาวชนถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดและคดีขึ้นสู่ศาลรวมถึงกรณีที่เด็กและเยาวชนที่ตกเป็นผู้เสียหายหรือจะเป็นคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดจากปัญหาสังคมปัญหาครอบครัวแตกแยกบิดามารดาและบุคคลในครอบครัวไม่เอาใจใส่ดูแลกันเท่าที่ควร หรือเกิดจากพฤติกรรมการเลียนแบบที่ไม่ดี ในสังคมและโลกออนไลน์ การเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆส่งผลให้มีคดีความขึ้นสู่ศาลจำนวนมาก

            ทั้งนี้สังคมปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นปัญหาเหล่านี้ 3 หน่วยงานดังกล่าวมิอาจแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสมบูรณ์ จำต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สหวิชาชีพ องค์กรด้านเด็กและเยาวชนรวมทั้งผู้นำชุมชนหรือเครือข่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ตตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนโดยผู้นำชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “เพิ่มศักยภาพเครือข่ายชุมชนในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน” ขึ้น เพื่อให้เครือข่ายชุมชนของศาลให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ ขั้นตอน เทคนิค และ วิธีการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ให้เครือข่ายชุมชนได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

          พร้อมกันนี้ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะผู้พิพากษาสมทบและได้รับความร่วมมือจากวิทยากรคณะผู้พิพากษาสมทบ