สำนักงานส่งเสริมกองทุนสุขภาพ (สสส.) จับมือกับ สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะบริการและการท่องเที่ยว มอ.ภูเก็ต และ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “พหุวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยวกลุ่มลูกค้ามุสลิม”
สำนักงานส่งเสริมกองทุนสุขภาพ (สสส.) จับมือกับ สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะบริการและการท่องเที่ยว มอ.ภูเก็ต และ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “พหุวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยวกลุ่มลูกค้ามุสลิม”
คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโครงการการขับเคลื่อนแนวทางสุขภาพพหุวัฒนธรรมในสถานบริการของรัฐและเอกชนในพื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนโดยสำนักงานส่งเสริมกองทุนสุขภาพ (สสส.) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 2 โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับโครงการการขับเคลื่อนแนวทางสุขภาพพหุวัฒนธรรมในสถานบริการของรัฐและเอกชนในพื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ”พหุวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยวกลุ่มลูกค้ามุสลิม” โดยมีผู้ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ผู้บริหารสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน อาทิ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โรงพยาบาลป่าตอง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โรงพยาบาลดีบุก โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ เป็นต้น รวมถึง สถานประกอบการที่ให้บริการสุขภาพ โรงแรม ที่พัก และสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สมาคมสปาเพื่อสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สื่อมวลชน เข้าร่วมการอบรม จำนวนกว่า 50 คน
ผศ.ดร.พรพิษณุ พรหมศิวะพัลลภ คณบดี การบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงาน การใช้แนวทางการบริการสุขภาพวัฒนธรรม สอดคล้องกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ที่ได้ดำเนินการสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่อันดามันให้มีองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ โดยดำเนินการร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จนทำให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดตั้ง Andaman Wellness Corridor (AWC) ระเบียงเศรษฐกิจสุขภาพอันดามัน ในอนาคต ปี 2565 โดยวิทยาเขตภูเก็ต ได้ดำเนินการศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ
กรณี ที่ศึกษาตำบลกะรน (Karon Wellness Tourism City) หนึ่งในผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการมีความต้องการจะเพิ่มมูลค่าการบริการให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งจะส่งผลให้สถานประกอบการมีรายได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งด้วยลักษณะของพื้นที่อันดามันที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สวยงาม ดึงดูดนักเที่ยวชาวด่างชาติ จากหลายประเทศและหลากหลายวัฒนธรรมให้เข้ามาท่องเที่ยวในกลุ่ม
จังหวัดอันดามันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับรัฐบาลมีความร่วมมือกับประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง ซึ่งผู้ประกอบการของกลุ่มจังหวัดอันดามัน ยังไม่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของนักท่องเที่ยวกลุ่มเหล่านี้ได้
ซึ่งโครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้สถานประกอบการ และสถานพยาบาล โดยระยะแรกจะจัดทำต้นแบบให้กับสถานบริการเอกชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนาน 5 แห่ง ในจังหวัดภูเก็ตและจะขยายผลต่อไปยังพื้นที่อันดามันอื่นๆในอนาคตอีกด้วย ผศ.ดร.พรพิษณุ กล่าวทิ้งท้าย
ทางด้าน นายรังสิมันต์ กิ่งแก้ว กรรมการสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มึกลยุทธ์ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยว มุ่งเน้น กระตุ้น และ ส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มมุสลิมจากทั่วโลก ในการรองรับโอกาสจากนักท่องเที่ยวประเทศซาอุดิอาระเบียและกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งภูเก็ตเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ ที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะเข้ามาเยี่ยมเยือน โดยทาง สมาคมฯคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศตะวันออกกลางจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
นายรังสิมันต์ กล่าวต่ออีกว่า ทางสมาคม ฯ ได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท. และ อบจ.ภูเก็ต มีแผนจะจัดงาน PTA Roadshow 2023 ในหลายๆประเทศ หนึ่งในนั้นคือประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยกำหนดจัดในปลายเดือน มกราคม 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกของสมาคม ฯ และผู้ประกอบการท่องเที่ยวของ จ.ภูเก็ต ให้มีความรู้ ความเข้าใจในวิถีมุสลิม จึงกำหนดการจัดการฝึกอบรมนี้ขึ้นมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวของจ.ภูเก็ตในอนาคตต่อไป
การจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวของจ.ภูเก็ต เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสของนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เข้าใจความแตกต่างของมุสลิมในแต่ละประเทศ รวมทั้งเข้าใจกลยุทธ์ในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ากลุ่มมุสลิม อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ (Do and Don’+) และจะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการออกแบบการให้บริการให้ตรงใจลูกค้า (สปา, โรงแรม, โรงพยาบาล, ทัวร์, ร้านอาหาร ) และคาดหวังว่ากระบวนการที่ได้จัดทำขึ้นใหม่นี้ จะช่วยยกกระดับและเพิ่มมูลค่าการบริการของสถานพยาบาลและสถานประกอบการ พร้อมช่วยให้สถานพยาบาลและสถานประกอบการเพิ่มมูลค่าการบริการด้านพหุวัฒนธรรม และสร้างรายได้ ให้ได้มากขึ้น นายรังสิมันต์ กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด