ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

      เพราะการศึกษามีหลากหลายรูปแบบ ไม่ได้จำกัดแค่เพียงในระบบโรงเรียน  ครอบครัว “ชาญชุติวาณิช” เลือกจัดการศึกษาบ้านเรียนให้กับ “ด.ญ.เพ้นท์ฟ้า ”ลูกสาวคนเดียว

       การศึกษาทางเลือก เป็นการศึกษาที่จัดโดยครอบครัว หรือบ้านเรียน(Home School) ที่พ่อแม่เป็นครูให้แก่ลูกของตนเอง

      ครอบครัว “ชาญชุติวาณิช” เลือกจัดการศึกษาบ้านเรียนให้กับ “ด.ญ.เพ้นท์ฟ้า ”ลูกสาวคนเดียวมาตั้งแต่อายุ 4 ขวบครึ่ง หลังเห็นชัดแล้วว่าลูกสาวไม่มีความสุข กับการเรียนในโรงเรียน คุณพ่อ “ณัฐพร” ตัดสินใจลาออกจากงานประจำบริษัทต่างชาติเงินเดือนหลายหมื่น มารับหน้าที่คุณพ่อฟูลไทม์ ช่วยกับคุณแม่ ที่มีอาชีพเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อดูแลและช่วยกันจัดการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดกับศักยภาพ “เพ้นท์ฟ้า” เต็มที่นั่นคือ “ศิลปะ”

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

     “ณัฐพร” เล่าว่า ตั้งแต่น้องเข้าเรียนอนุบาลก็เริ่มเห็นแล้วว่าน้องไม่ค่อยมีความสุข ไม่สนุกกับกิจกรรมที่ต้องทำ จุดเปลี่ยนสำคัญ คือช่วงที่ครูสอนจับดินสอ ซึ่งน้องไม่ถนัดจับอีกแบบมากกว่าแบบที่ครูสอน แต่ก็พยายามจะทำให้ได้ ที่สุดคือน้องสับสน เครียด จึงได้ปรึกษากับครูและผู้อำนวยการโรงเรียนว่าจะทำอย่างไร พูดคุยกันแบบเปิดใจ ได้รับแนะนำว่ามีการจัดการศึกษา บ้านเรียน หรือ โฮมสคูล ที่พ่อแม่เป็นคนสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับลูก ตามศักยภาพของเด็ก เมื่อเลือกเส้นทางนี้ก็ศึกษาต้องทำอะไรบ้าง และไปจดทะเบียนกับทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

    “ด.ญ.เพ้นท์ฟ้า” 

     สอนหนังสือก็เริ่มจากให้เพ้นท์ฟ้าเลือกซื้อหนังสือ ส่วนใหญ่น้องจะเลือกที่หน้าปกสวยมาหลายเล่มมาก อย่างวิชาคณิตก็จะเป็นอักษรภาพ ปรากฏว่าน้องไม่เคยใช้จนหมดเล่ม บางเล่มก็ไม่เคยได้ใช้ ส่วนการเรียนรู้วิชาการปกติ ทำกิจกรรมที่สนใจ เน้นสิ่งรอบตัว เรื่องง่ายๆใกล้ตัวมาต่อยอดความรู้ เสริมในสิ่งที่เหมาะสม พอน้องโตขึ้นก็เริ่มจะขอที่จะตัดวิชาเรียนต่างๆออกไปทีละวิชา จนกระทั่ง 6 ขวบน้องบอกว่าขอเรียนแค่ศิลปะอย่างเดียว

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

   “ยอมรับว่าคนเป็นพ่อก็อยากให้เขามีความรู้ในเชิงวิชาการด้วย แต่น้องชัดเจนว่าเขาชอบศิลปะก็เลยมีข้อแลกเปลี่ยนกันเราก็ทดสอบคือให้เวลาน้อง 7วันดูว่าถ้าเรียนแต่ศิลปะจะทำอะไร ปรากฏว่าเขาสามารถวาดรูป อยู่กับงานศิลปะได้ทั้งวันอย่างมีความสุข ครอบครัวก็มาคุยกันว่าถ้าเลือกเส้นทางศิลปินนี้ อนาคตข้างหน้าโตขึ้นเขาจะเรียนอะไรต่อ ทำอาชีพอะไร เมื่อยอมรับเข้าใจก็ทุ่มเทสนับสนุนด้านศิลปะให้เพ้นท์ฟ้าอย่างเต็มที่ และหาพื้นที่แสดงผลงานศิลปะตั้งแต่อายุ 7 ขวบ มีไปแสดงภายในงานกิจกรรมต่างๆของกลุ่มบ้านเรียน ไปจนถึงแกลอรี่ต่างด้วยๆ สำหรับอนาคตของน้องเมื่อโตขึ้นก็คงจะเรียนมหาวิทยาลัยทางด้านศิลปะในต่างประเทศ เพราะยื่นโปรไฟล์ผลงานได้ทันที ไม่ต้องอิงผลการเรียนวิชาการ”

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

      วันนี้ “เพ้นท์ฟ้า”วัย 11 ขวบเป็นจิตรกรตัวน้อยมี สตูดิโอวาดภาพของตนเองอยู่ที่River City แถวสี่พระยา ผลงานภาพวาดถูกคนรักศิลปะ แฟนคลับที่ชื่นชอบผลงานมาซื้อไปหลายชิ้น ขายได้สูงสุดราคา 30,000 บาท “เพ้นท์ฟ้า” เล่าพร้อมรอยยิ้มสดใส ว่า “ทุกวันนี้มีความสุขมาก เพราะได้วาดภาพมาก มีความสุขที่ได้ทำงานศิลปะ ภาพวาดมีหลายแบบส่วนใหญ่จะชอบวาดภาพบุคคล (Portrait)แต่ถ้าไม่ได้วาดภาพก็มีทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ร้องเพลง เล่นกีฬา เป็นต้น”

     ครอบครัวที่จัดการศึกษาบ้านเรียนมีทั่วประเทศ แต่ละบ้านจะมีจุดเน้นที่พัฒนาลูกต่างกัน บางบ้านเน้นวิชาการ บางบ้านเน้นกีฬา ศิลปะ ซึ่งผู้จัดต้องเสนอหลักสูตร แผนจัดการเรียนการสอนมาให้เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุมัติ.. จากตัวเลขล่าสุดของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. พบว่า มีครอบครัวจดทะเบียนกับเขตพื้นที่ฯทั่วประเทศ อยู่ที่ 456 ครอบครัว ผู้เรียน 646 คน

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

     ยังมีการรวมตัวเป็นเครือข่ายกลุ่มบ้านเรียนInnovative Learning Space (ILS) ซึ่ง ร่วมกับเครือข่ายการด้านการศึกษา สพป.กทม. สพฐ.และภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน H.O.M.E.บ้านรักษ์โลก เปิดพื้นที่ให้กลุ่มบ้านเรียนในกรุงเทพฯ มาแสดงผลงาน พบปะพูดคุย รวมถึงให้พ่อแม่ที่สนใจได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

     ครอบครัว “ชาญชุติวาณิช” 

     อ.วิศิษฐ์ วังวิญญูให้ความเห็นว่า การเรียนรู้แท้จริงคือ การเรียนวิธีที่จะเรียน ขณะที่ข้อมูลความรู้ในยุคปัจจุบันมีอยู่รอบตัว เข้าถึงได้ตลอดเวลาอยู่จะใช้วิธีการใดมาเชื่อมโยงเพื่อสร้างงาน สร้างชีวิต จุดนี้ผู้เรียนจะเป็นคนที่เรียนรู้ได้เอง พ่อแม่ ครูเป็นแค่พี่เลี้ยง สร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมโอกาส ทำให้การเรียนรู้เองของเด็กเกิดขึ้น ปัจจุบันหลายครอบครัวจัดการศึกษาบ้านเรียนมากขึ้น เป็นหลายร้อยครอบครัว ในสมัยอดีตที่ตนเริ่มทำมีเพียงหลัก 10 ครอบครัวเท่านั้น

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

       อ.วิศิษฐ์ วังวิญญู

    การจัดการศึกษาบ้านเรียนให้ประสบความสำเร็จนั้น อ.วิศิษฐ์ บอกว่า “ทุกครอบครัวต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเด็กเกื้อกูลเด็กได้แท้จริง ต้องเข้าใจการเรียนรู้แท้จริง สร้างสมดุลทั้งการสร้างฐานคิดและการลงมือทำ ขณะเดียวกัน พ่อแม่ควรจะฝึกพัฒนาจิตใจรู้เท่าทันจิตใจตนเอง

    แบ่งเป็น 3 สี คือ พื้นที่สีเขียว ทำให้ชีวิตเกิดความเลื่อนไหล พ่อแม่ควรจะต้องดำรงตนให้อยู่ในพื้นที่นี้เข้าใจแก่นแท้ชีวิต ปัญญา ความรัก ความสุข ซึ่งจะช่วยหล่อเลี้ยงกระบวนการเรียนรู้เด็กได้แท้จริง จะเป็นสภาวะเรียนรู้ที่ดีที่สุด ส่วนที่ต้องระวังคือ พื้นที่สีเหลือง ความกลัว การคิดลบบ่นซ้ำๆกับเด็ก และสีแดงคือ ปม (trauma)ในวัยเด็ก ซึ่งไม่เอื้อต่อการพัฒนาเด็ก”

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

     อย่างไรก็ตาม ที่ต้องทำมากขึ้นจากนี้ คือ สร้างเครือข่ายชุมชนบ้านเรียน เช่นที่กำลังทำกันอยู่นี้จะช่วยให้เกิดบรรยากาศที่แต่ละครอบครัวได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นสังคมที่กว้างขึ้น ไม่ได้อยู่แค่ครอบครัวตนเอง หรือสร้างเครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายในการทำกิจกรรม หรือเป็นแหล่งที่แต่ละครอบครัวจะมาทำกิจกรรม แลกเปลี่ยน การเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อจัดการศึกษา

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

      ผศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

      เช่นเดียวกับ ผศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา หัวหน้าภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต จุฬาฯ บอกว่า “บ้านเรียน” เป็นทางหลักหนึ่งในการจัดการศึกษา ที่นับวันจะมีพ่อแม่ผู้ปกครองหันมาดำเนินการมากขึ้น มีกฎหมายรองรับให้พ่อแม่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่ลูกได้ เด็กได้รับการดูแลตามสิทธิเช่นเดียวกับเด็กที่เรียนในระบบ ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาจุฬาฯได้เข้าไปมีส่วนร่วมเช่นกัน

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้

     โดยได้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ดูแลวิชาการจัดทำเว็บไซต์ที่รวบรวมแผนการเรียนการสอนที่เหมาะสม หลักเกณฑ์แนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร ที่พ่อแม่ใช้เป็นฐานในการจัดทำหลักที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพของเด็ก

ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ประสบผลสำเร็จได้